การดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ

ฉลากเขียว สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1ตามมาตรฐาน ISO 14024 เริ่มดำเนินการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยได้มีการดำเนินการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ฉลากเขียวได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกที่ได้รับรองระบบงาน GENICES ของเครือข่ายฉลากสิ่งแวดล้อมโลก (Global Ecolabelling Network (GEN)) มีสมาชิกที่เป็นหน่วยงานด้านฉลากสิ่งแวดล้อมชนิดที่ 1 จากมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกซึ่งวัตถุประสงค์ร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมสร้างความร่วมมือ ถ่ายทอดความรู้ และพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล (Common Core Criteria (CCC)) ในการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสมาชิก GEN สมาชิกอาจลงนามบันทึกความเข้าใจ(Memorandum of Understanding (MOU)) ร่วมกันเพื่อดำเนินงานร่วมกันระดับองค์กร ในการยอมรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ และผลการทดสอบของผลิตภัณฑ์เดียวกัน

ปัจจุบันฉลากเขียวดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ

1) การลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding (MOU))

ฉลากเขียว ได้บันทึกความเข้าใจร่วมกับหน่วยงานด้านฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศต่างๆ เพื่อ

(1) การรับสมัครขอการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม

(2) การตรวจประเมินสถานประกอบการ (On-Site Assessment) แทนกัน ของประเทศที่มีความร่วมมือ ปัจจุบันฉลากเขียวได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับหน่วยงานรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลี นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง มาเลเซีย เยอรมนี และอินเดีย

ประเทศที่ลงนามบันทึกข้อตกลงกับโครงการฉลากเขียว สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ลงนามในปี เครื่องหมายฉลาก
Green Mark Program | Environment and Development Foundation | ไต้หวัน 2544
Korean Eco-Label Program | Korea Environmental Industry and Technology Institute (KEITI) สาธารณรัฐเกาหลี 2545
The New Zealand Environmental Trust ประเทศนิวซีแลนด์ 2547
Ecomark Japan Program | Japan Environment Association (JEA) | ประเทศญี่ปุ่น 2547
Good Environmental Choice Australia Ecolabel | GECA | ประเทศออสเตรเลีย 2548
China Environmental Labeling | China Environmental United Certification Center | สาธารณรัฐประชาชนจีน 2550
Green Choice Philippines | Philippine Center for Environmental Protection and Sustainable Development, Inc. (PCEPSD) | ประเทศฟิลิปปินส์ 2557
Green Council | Hong KongHong Kong Green Label Scheme| ฮ่องกง 2558
SIRIM Eco-Labelling Scheme | SIRIM QAS International | ประเทศมาเลเซีย 2559
The Blue Angel Eco-Label | German Federal Environment Agency | สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 2560
GreenPro , Confederation of Indian Industry ประเทศอินเดีย 2562

2) การพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล (Common Core Criteria (CCC))

ฉลากเขียวได้มีการพัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตลาด ซึ่งผลิตภัณฑ์บางชนิดถูกนำเข้าหรือส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ดังนั้นฉลากเขียวจึงได้ทำการพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างประเทศ

1. เครื่องพิมพ์และเครื่องถ่ายเอกสาร (Printers and Copiers) ลงนามปี 2564

2. เครื่องถ่ายเอกสาร (Copiers) ลงนามเมื่อปี 2559

3. ผลิตภัณฑ์เครื่องฉายดิจิตอล (Digital Projectors) ลงนามเมื่อปี 2560