9 ตุลาคม 2567 : TEI เสริมศักยภาพผู้ประกอบการในการผลิตสีเขียวด้วยฉลากสิ่งแวดล้อม พร้อมมอบใบประกาศนียบัตรแก่บริษัทที่ขอการรับรอบฉลากสิ่งแวดล้อม
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ได้จัดงานเสวนา “TEI-Ecolabelling Forum 2024: Green Solution for Production ตอบโจทย์การผลิตสีเขียวด้วยฉลากสิ่งแวดล้อม เปิดเวทีเสวนา “Green Production Promotion” โดยมีวิทยากรจาก BOI สสว.และตัวแทนบริษัทที่ขอการรับรองฉลากเขียว ร่วมพูดคุยถึงการเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI กล่าวถึงนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมว่า “ ฉลากสิ่งแวดล้อมคือกลไกสำคัญหนึ่งที่ขับเคลื่อนตลาดสีเขียวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ ในฐานะผู้บริหารสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินงานฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วน ในการสนับสนุนนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐเพื่อการผลิตและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกับภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ตลอดจนเพื่อสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมในการผลิตและบริโภคสีเขียว และมุ่งสู่การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนต่อไป (blue check mark)
ดร.สุรินทร์ วรกิจธำรง รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นฉลากสิ่งแวดล้อมกับการผลิตสีเขียว ว่า “กรมควบคุมมลพิษได้ประสานงานร่วมกับกระทรวงการคลังเพื่อกำหนดให้พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือ ซึ่งการพิจารณาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตามความสำคัญและความพร้อมของผู้ผลิตในการดำเนินการ โดยเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำหนดให้สินค้าต้องผ่านคุณภาพหรือมาตรฐานเทียบเท่าสินค้าทั่วไป หรือได้รับ มอก. และมีคุณสมบัติด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อาทิเช่น การพิจารณาประสิทธิภาพพลังงานระหว่างการผลิตหรือการใช้งาน ไม่ใช้สารเคมีหรืออันตรายต่างๆ ในการผลิต มีการจัดการวัตถุดิบ ขบวนการผลิต ที่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือขยะหลังผลิตภัณฑ์หมดอายุ มีอายุการใช้งาน การสำรองอะไหล่ยาวนานขึ้น ปัจจุบัน บัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ”(notepad)
ดร.ฉัตรตรี ภูรัต ผู้อำนวยการฝ่ายฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มปัจจุบันของผู้บริโภคด้านสิ่งแวดล้อมยังมีความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นแต่ยังคงต่ำ ความเข้าใจยังมีจำกัด อีกทั้งยังมีความท้าทายที่ผู้บริโภคจำนวนมากมองว่าผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมีราคาแพงกว่า การเข้าถึงผลิตภัณฑ์นั้นยังจำกัดแต่พื้นที่ในเมือง และยังต้องการรายละเอียดที่ชัดเจนของผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อ โดยปัจจัยความสำเร็จของการผลิตสีเขียวคือการมีส่วนร่วมของห่วงโซ่ทั้งหมด ทั้งภาครัฐ ภาคผู้ผลิต และผู้บริโภค
นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีเวที ดร.ถนอมลาภ รัชวัตร์ รักษาการผู้จัดการฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม ยังได้ให้ข้อมูลฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆที่ทางสถาบันฯให้การรับรอง เพื่อให้ผู้ร่วมงานเห็นความแตกต่างของแต่ละประเภท รวมทั้ง คุณแววตา บวรทวีปัญญา รักษาการผู้จัดการฉลากผลิตภัณฑ์หมุนเวียน ได้ให้ข้อมูลการขอรับรองฉลากหมุนเวียน
ทั้งนี้ โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 มีรายการสินค้าและบริการที่ขึ้นทะเบียน 42 ประเภท 1683 รายการ ประกอบด้วย 1. ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 หรือฉลากเขียว 2. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมควบคุมมลพิษ หรือตะกร้าเขียว 3. ฉลากทางเลือกด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ฉลากลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์